ครูบาเจ้าศรีวิไชย ๒๔๘๒ อักขระลานนา ครูบาศรีวิชัย
หมวดหมู่ : พระเครื่อง ,  BEST SELLER , 
Share
ครูบาเจ้าศรีวิไชย ๒๔๘๒ อักขระลานนา
ประวัติ ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา หลัง ศธ. เตรียมเสนอชื่อต่อยูเนสโก ให้ได้รับการยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพ
ศธ.มีบทบาทหลักในการสนับสนุนการดำเนินงานขับเคลื่อนการเสนอชื่อ ครูบาเจ้าศรีวิชัย (อินท์เฟือน สีวิเชยฺย) ให้ได้รับการยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพ ในวาระครบรอบ 150 ปี ชาตกาล ครูบาเจ้าศรีวิชัย ในปี พ.ศ. 2571 ต่อองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก
ประวัติ ครูบาเจ้าศรีวิชัย (อินท์เฟือน สีวิเชยฺย) นักบุญแห่งล้านนา
จากข้อมูลในหนังสือ สารประวัติครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ของ สิงฆะ วรรณสัย ได้ระบุข้อมูลชีวิตชั้นต้นของ ครูบาเจ้าศรีวิชัย ไว้ว่า ท่านเกิดในปีขาล เดือน 9 เหนือ หรือเดือน 7 ของภาคกลาง ตรงกับวันขึ้น 11 ค่ำ จ.ศ. 1240 เวลาพลบค่ำ ซึ่งตรงกับวันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2421 ที่บ้านปาง ตำบลแม่ตืน ในปัจจุบันคือ ตำบลศรีวิชัย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
ท่านเป็นบุตรของนายควาย และนางอุสา มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน บ้านเกิดของพวกเขาคือ บ้านสันป่ายางหลวง ทางด้านเหนือของตัวเมืองลำพูน ในวันที่นางอุสาเจ็บท้องจะคลอดลูก พระอาทิตย์ได้คล้อยต่ำลงไปเกือบจะ 6 โมงเย็น
นายควายและญาติพี่น้องพร้อมด้วยหมอตำแย ได้ดูแลการคลอดของนางอุสาอย่างเต็มที่ และในขณะนั้นท้องฟ้าอากาศที่สว่างไสวกลับมืดครึ้ม เกิดพายุแรงพัดกระหน่ำสายฝนตกลงมาอย่างหนักและมีเสียงฟ้าร้อง
จนกระทั่งในที่สุด นางอุสาก็ได้คลอดทารกน้อยออกมาพร้อมกับเสียงร้องไห้และเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งเมื่อเสียงฝนและพายุก็หยุดสงบลง ทำให้ครอบครัวของนายควายได้ตั้งชื่อเด็กน้อยที่เกิดขึ้นมาว่า "เด็กชายอินท์เฟือน" ตามภาษาล้านนาแปลว่ากระเทือนหรือกัมปนาท
เมื่อครั้งยังเป็นหนุ่มน้อยอายุ 17 ปี นายเฟือนได้เข้าสู่เส้นทางธรรม บวชเป็นเณรที่วัดบ้านปาง ร่ำเรียนวิชาต่าง ๆ กับครูบาขัตติยะ เมื่อสามเณรอินตาเฟือนมีอายุย่าง 21 ปี ก็ได้อุปสมบทเป็นพระที่วัดบ้านโฮ่งหลวง จังหวัดลำพูน ได้รับฉายานามว่า "สิริวิชโยภิกขุ" หรือ "พระศรีวิชัย"
พระศรีวิชัย เป็นที่ร่ำลือกันว่า ท่านเป็นผู้มีศรีลาจารวัตรที่งดงามและเคร่งครัด อาทิ ท่านงดการเสพหมาก เมี่ยง บุหรี่ นอกจากนี้ยังงดฉันเนื้อสัตว์ ตั้งแต่เมื่ออายุ 26 ปี และฉันอาหารเพียงมื้อเดียว ซึ่งมักจะเป็นผักต้มใส่กับเกลือและพริกไทย
ด้วยจริยวัตรอันเคร่งครัดของท่าน ทำให้เกิดแรงศรัทธาแก่เหล่าพุทธศาสนิกชน กระทั่งรวบรวมเหล่าพุทธศาสนิกชนทำการสร้างทางเดินขึ้นดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ ได้เป็นผลสำเร็จ โดยเริ่มสร้างเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2477 และสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2478
นอกจากที่ท่านจะสร้างทางขึ้นดอยสุเทพแล้ว ท่านยังได้จัดการสังคายนาพระไตรปิฎกฉบับลานนาไทย รวมทั้งการสร้าง และบูรณวัดต่างๆ หลายวัด ท่านเป็นผู้ทรงศีล จนได้รับขนานนามว่า “พระครูบาศีลธรรมเจ้า”
พระศรีวิชัย ให้ความสนใจในวิชาอาคม และยึดถือเป็นของวิเศษ นำพาความเจริญสู่ชีวิตมาให้ และว่ากันว่า ด้วยความเลื่อมใสในวิชาอาคม พระศรีวิชัยมีความคิดที่จะลาสิกขา รวมทั้งท่านยังได้สักขาหมึกดำทั้ง 2 ข้างตามความนิยมของชายล้านนาสมัยนั้น
ในเวลานั้นครูบาขัตติยะมรณภาพลง พระศรีวิชัยจึงได้ทำบุญฌาปนกิจพระอาจารย์ หลังจากนั้นด้วยท่านเป็นพระที่มีพรรษามากที่สุดในขณะนั้น ท่านจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัด จากนั้นจึงทำการย้ายวัดจากที่ตั้งเดิมขึ้นไปอยู่บนเขา และให้ชื่อว่า “วัดศรีดอนชัยทรายมูลบุญเรือง”
ครูบาศรีวิชัย มรณภาพเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 ณ วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน สิริอายุได้ 60 ปี ตั้งศพไว้ที่วัดบ้านปาง เป็นเวลา 1 ปี จึงได้เคลื่อนศพมาตั้งไว้ ณ วัดจามเทวี อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
จนกระทั่งวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2489 จึงได้รับพระราชทานเพลิงศพ โดยมีประชาชนมาร่วมในพิธีพระราชทานเพลิงศพจำนวนมาก และประชาชนเหล่านั้นได้เข้าแย่งชิงอัฏฐิธาตุของครูบาศรีวิชัย ตั้งแต่ไฟยังไม่มอดสนิท แม้แต่แผ่นดินตรงที่ถวายพระเพลิง ก็ยังมีผู้ขุดเอาไปสักการบูชา
อัฏฐิธาตุของท่านที่เจ้าหน้าที่สามารถรวบรวมได้ ได้ถูกแบ่งออกเป็น 7 ส่วน แบ่งไปบรรจุตามสถานที่ต่างๆ ทั่วแผ่นดินล้านนา ดังนี้
ส่วนที่ 1 บรรจุที่ วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน
ส่วนที่ 2 บรรจุที่ วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่
ส่วนที่ 3 บรรจุที่ วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม จังหวัดลำปาง
ส่วนที่ 4 บรรจุที่ วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา
ส่วนที่ 5 บรรจุที่ วัดพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่
ส่วนที่ 6 บรรจุที่ วัดน้ำฮู จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ส่วนที่ 7 บรรจุที่ วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
ที่มา >>> สนุกดอทคอม
#พระเครื่อง #สิ่งศักดิ์สิทธิ์
สถานที่สำคัญอันเกี่ยวเนื่องกับครูบาศรีวิชัย
-อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย บริเวณทางขึ้นดอยสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
-อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ภายในวัดดอยติ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
-ถนนศรีวิชัย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
-อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๔
นำเสนอโดย 108thailand.com
ไม่ได้รับเช่านะครับ ที่แอดมินลงไว้เป็นความพอใจเฉพาะบุคคล